Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความเชื่อเกี่ยวกับรุ้งกินน้ำ(Beliefs about rainbow)


ความเชื่อเกี่ยวกับรุ้งกินน้ำ
(Beliefs about rainbow)
ความเชื่อของชาวเงาะที่อาศัยอยู่ในป่า รุ้งกินน้ำนั้นก็คือสัตว์คู่ใจของ ญาเงาะ มีตัวยาวคล้ายงู ตัวใหญ่มาก หลังสีเขียว ท้องสีแดง ไม่เคยมีใครได้เห็นหน้าของมัน ชาวเงาะเรียกสัตว์ตัวนี้ว่า ฮุ่ง ด้วยญาเงาะมีฝูงผึ้งเป็นสัตว์เลี้ยงและได้บัญชาให้ฮุ่งทำหน้าที่พาผึ้งออกหากิน โดยเฉพาะในช่วงระยะที่มีฝนตก ฮุ่ง จะต้องต้อนฝูงผึ้งออกมาหากินตามป่า เพราะที่หวันออกนั้นน้ำมีน้อย
ฮุ่งกินไม่อิ่ม ฮุ่งจะหาน้ำกินตามถ้ำที่มืดๆ เท่านั้นการที่เราเห็นฮุ่งเป็นสายๆ นั้น เป็นเพียงส่วนปลายๆ เท่านั้นเอง ดวงจันทร์ที่เห็นในเวลากลางคืนนั้น คือใบหน้าของญาเงาะที่มองคนบนแผ่นดินกลางวัน กลางคืน เกิดจากรุ้ง (ฮุ่ง) กลืนหางตนเองปีใดรุ้งกินน้ำมาก จะทำให้ผลไม้ในป่าดก ผึ้งจะลงยวนมาก(นายสังข์ : 2534)
ชาวกัมพูชา หรือเขมร เรียกรุ้งกินน้ำในความหมายว่า ธนูพระอินทร์ เพราะมีรัศมีโค้งข้ามฟ้าเหมือนคันธนูที่โก่งจนเต็มที่

ไทยและไทใหญ่  เชื่อตรงกันว่า ถ้าเอามือชี้รุ้งกินน้ำแล้วนิ้วจะด้วน  ต้องแก้เคล็ดด้วยการเอามือเช็ดก้น

ชาวมอญ    เชื่อว่าถ้าชี้รุ้งกินน้ำแล้วจะโชคร้าย แต่ไม่ได้ระบุว่าจะโชคร้ายอย่างไร

คนจีน    ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นทางตะวันออกไม่มีใครกล้าชี้ เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดโชคร้าย และมักจะทำให้เป็นแผลที่มือที่ชี้นั้น ชาวจีนยัง เชื่ออีกว่า ถ้าเมื่อใดเกิดมีรุ้งกินน้ำ เมื่อนั้นฝนจะหยุดตก จนมีคำกล่าวที่ว่า “เหมือนมองหาเมฆเพื่อให้ได้ฝน แต่พอเห็นเมฆมาแล้วก็ไม่สบายใจกลัวรุ้งกินน้ำจะตามมาด้วย แล้วฝนก็จะเหือดหายไปเสีย”

ลัทธิบอน (Bon) ของทิเบตเชื่อว่า ชาวทิเบตคนแรกลงมาจากท้องฟ้าสู่ขุนเขาสูงด้วยบันไดวิเศษของรุ้งกินน้ำ ครั้นเมื่อได้รับอิทธิพลของ  พุทธศาสนา  ชาวทิเบตก็ยังเชื่อว่า เมื่อผู้บรรลุมรรคผลได้สิ้นชีวิตลง สังขารก็จะสลายกลายเป็นแสงงดงามของรุ้งกินน้ำ ร่างกายจะสลายกลายเป็นแสงของรุ้งกินน้ำ

นอกจากนั้นสีของรุ้งยังมีความสำคัญในเรื่องเล่าเช่นกัน บางคนเชื่อว่าถ้าสีใดในรุ้งโดดเด่น หรือสังเกตเห็นเด่นชัด จะมีความหมายต่างๆ เช่น
แสงสีแดงหมายถึงสงคราม
สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
สีเหลืองหมายถึงความตาย

รุ้งหรือรุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแบบหนึ่ง ซึ่งเราสามารถพบเรื่องราวได้ในเรื่องเล่าของวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งล้วนมีทฤษฎีเพื่ออธิบายการเกิดของรุ้งเป็นของตัวเอง และทำให้รุ้งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันมากมาย เช่น ลิ้นพระอาทิตย์ (The Tongue of the Sun), วิถีแห่งคนตาย (Road of the Death), สะพานสายฝน (Bridge of the Rain), ชายเสื้อแห่งสุริยเทพ (Hem of the Sun-god’s Coat), วิถีแห่งเทพสายฟ้า (Road of Thunder God), สะพานระหว่างโลกและสวรรค์ (The Bridge between Heaven and Earth), หน้าต่างสวรรค์ (Window to Heaven), และชนแห่งเทพสายฟ้าหรือพระอินทร์ (The Bow of Indra, God of Thunder) แม้แต่ในคัมภ์ไบเบิ้ลยังกล่าวว่า รุ้งเป็นข้อสัญญา หรือคำสัญญาของพระเจ้าที่ให้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดว่า โลกจะไม่ถูกทำลายจากน้ำท่วมอีก
ยังมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับรุ้งอีก เช่น ชนเผ่าหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้เชื่อกันว่า รุ้งที่เกิดขึ้นในทะเลเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเกิดขึ้นบนบก จะหมายถึงสัญญาณของวิญญาณร้ายที่กำลังมองหาเหยื่อ

ในแถบยุโรปตะวันออกมีความเชื่อว่า นางฟ้าจะเก็บทองคำไว้ที่ปลายรุ้ง และจะมีเพียงมนุษย์ที่เปลือยเปล่าเท่านั้นที่จะพบทองเหล่านั้น
 (ซึ่งก็คงเป็นปลายทางที่ไปไม่ถึง เพราะคนเรามีมุมการมองเห็นรุ้งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เรายืน ดังนั้นยิ่งเราเดินเข้าไปหารุ้งเท่าไร จุดหมายของเราก็ยิ่งไกลขึ้นเท่านั้น)

ในเรื่องเล่าเก่าแก่ของชาโรมาเนียกล่าวว่า หากใครได้ดื่มน้ำบริเวณที่ปลายรุ้งที่ตกในแม่น้ำ จะกลายร่างเป็นเพศตรงข้ามทันที ยังมีเรื่องที่คล้ายคลึงกันเล่าว่าใครที่ลอดผ่านสายรุ้งจะเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามได้ ไทยและไทใหญ่มีความเชื่อตรงกันว่า ถ้าเอามือชี้รุ้งกินน้ำแล้วนิ้วจะด้วน หรือหากมีรุ้งกินน้ำขึ้นทางทิศตะวันตก เชื่อว่าฝนจะตก ถ้าขึ้นทางทิศตะวันออกเชื่อว่าจะดี ชาวมอญเชื่อว่า ถ้าชี้รุ้งกินน้ำแล้วจะโชคร้าย ส่วนชาวจีนก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า การชี้ไปที่รุ้งกินน้ำซึ่งเกิดขึ้นทางทิศตะวันออกจะทำให้โชคร้าย และทำให้เกิดแผลเหมือนกัน คนโบราณต่างเชื่อกันว่า รุ้งเป็นสิ่งที่มีชีวิตและมีอำนาจลึกลับ ถ้ามันลงกินน้ำที่บ้านใดแล้ว บ้านนั้นจะถึงกรณีวิบัติด้วยภัยต่างๆ.....

แม้ในเรื่องเล่าต่างๆ รุ้งจะมีที่มาและความเป็นไปที่ค่อนข้างลึกลับ แต่ความเป็นจริงแล้วการเกิดรุ้งอธิบายได้ง่ายๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ รุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ระหว่างแสงกับหยดน้ำที่ล่องลอยปะปนอยู่อากาศ รุ้งเกิดจากแสงแดดที่สะท้อนและหักเหในหยดน้ำ เพราะแสงอาทิตย์นั้น หากเรามองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นแสงสีขาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว แสงประกอบด้วยแสงสีต่างๆ ได้แก่ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง แสงแต่ละสีจะหักเหไปด้วยมุมต่างๆ กันขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น โดยที่แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด จังหักเหด้วยมุมมองที่น้อยที่สุด และแสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดและหักเหมากที่สุด
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

รายการบล็อกของฉัน